สุจิตต์ชี้ประเด็น 10 ความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่ผิดพลาด

สุจิตต์ชี้ประเด็น 10 ความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่ผิดพลาด

สุจิตต์ชี้ประเด็น “10 ความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่ผิดพลาด”
           สุจิตต์ วงษ์เทศ ผู้ก่อตั้งนิตยสารศิลปวัฒนธรรม นักค้นคว้าทางประวัติศาสตร์โบราณคดี ได้บรรยายหัวข้อเรื่อง “วรรณกรรมไทยมาจากไหน” เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2556 ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ ในการบรรยายครั้งนี้สุจิตต์ได้ชี้ให้เห็นถึงความรู้และความเชื่อประวัติศาสตร์กว่า 10 ประการที่คนไทยเข้าใจผิด หรือถูกทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อน
           สุจิตต์ยังอธิบายอีกว่า ทุกวันนี้ประวัติศาสตร์และวรรณคดีไทยยังเป็น 2 วิชาที่ฝ่ายชนชั้นนำพยายามยึดกุมความรู้ไว้ตามที่ตนต้องการ ไม่พยายามเปิดให้มีการชำระหรือโต้เถียงอย่างเสรี ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อพลังแห่งการสร้างสรรค์
          ประเด็นทางประวัติศาสตร์ที่สุจิตต์อธิบายสามารถสรุปประเด็นย่อๆ ได้ดังนี้
           - ความรู้ที่ว่าคนไทยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไต เป็นชุดความรู้ที่ถูกเน้นย้ำอย่างชัดเจนในช่วงรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม โดยเป็นการหยิบเอามาจากข้อเขียนของขุนวิจิตรมาตราที่เขียนไว้หนังสือหลักไทย ซึ่งเป็นหนังสือที่แต่งขึ้นเพื่อส่งเข้าประกวดหนังสือดีเด่นประจำปี 2471 โดยไม่ได้ยึดโยงจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดๆ แต่เป็นการใช้แนวคิดที่เชื่อกันว่า “กลุ่มชนที่เจริญ”หรือชาวอารยันต้องมีที่มาจากทิศเหนือเท่านั้น
           -จารึกหลักที่ 1 สร้างเมื่อต้นรัตนโกสินทร์?
           -กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้ากุ้ง เมื่อแรกแต่งไม่ได้ใช้เห่เรือ
           -ตัวอักษรไทย ไม่ใช่กำเนิดขึ้นมาทันทีทันใด แต่เริ่มต้นจากอักษรปัลลวะของอินเดีย แล้วค่อยๆ พัฒนามาเป็นอักษรขอม และ ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนกลายเป็นอักษรไทยในที่สุด
           -รามเกียรติ์ คือ “เกียรติของพระราม” เป็นวรรณกรรมที่ได้รับความสำคัญเพราะเสริมส่งสถานภาพของกษัตริย์ผู้ทรงธรรม แพร่หลายในประเทศไทยเช่นเดียวกับบ้านเมืองอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ใช่เป็นของไทยแท้ๆ
           -คำในภาษาไทยทุกวันนี้ มีการยืมคำจากภาษาเพื่อนบ้านมาใช้จำนวนมาก ทั้งมอญ เขมร จีน ลาว ดังนั้นภาษาไทยจึงไม่ใช่ภาษาบริสุทธิ์แท้ๆ แต่ผสมผสานกับเพื่อนบ้าน
           -ประวัติศาสตร์การกำเนิดรัฐของสยาม มีรากเหง้ามาจากรัฐในแถบลาว แต่ถูกปฏิเสธ เนื่องจากการดูถูกเพื่อนบ้าน
           -วัฒนธรรมชาวบ้านในสยาม ผสมผสานวัฒนธรรมจีน แต่วัฒนธรรมราชสำนัก รับอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดีย
           -หมาและกบ เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่ของภูมิภาคนี้ ท่ากบเป็นต้นกำเนิดของท่าทางนาฏศิลป์ เช่น โขน
           -นิราศ ซึ่งเล่าเรื่องราวการจากคนที่รัก ถือเป็นวรรณกรรมพิธีกรรมประเภทหนึ่ง เพื่อการบำเพ็ญเพียร
           ฯลฯ
สามารถติดตามรายละเอียดได้ในคลิปการบรรยาย 2 ตอน ตาม link ข้างล่างนี้

http://www.youtube.com/watch?v=nrNQxw6cPYs
http://www.youtube.com/watch?v=zfwDlhT4k7A

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้