เอะโดะ "เมืองประตูสู่อ่าว" รากเหง้าที่มา “โตเกียว"

เอะโดะ "เมืองประตูสู่อ่าว" รากเหง้าที่มา “โตเกียว"

เอะโดะ "เมืองประตูสู่อ่าว" รากเหง้าที่มา “โตเกียว”
            “เมืองเอะโดะ” ก็คือเมืองโตเกียว เพียงแต่เอะโดะเป็นชื่อเดิมที่ถูกใช้เรียกเมืองนี้เมื่อหลายร้อยปีก่อน ซึ่งมีความหมายว่า “ประตูสู่อ่าว” สอดคล้องกับภูมิประเทศของเมืองที่อยู่ติดกับทะเล และเป็นท่าเรือแห่งหนึ่ง
            โชกุนโทะกุงะวะ อิเอะยะสุ ได้ทำให้เมืองเอะโดะมีความสำคัญขึ้น เมื่อท่านยึดอำนาจการปกครองมาจากพระจักรพรรดิเมื่อ พ.ศ. ๒๑๔๓ แล้วตั้งรัฐบาลทหารขึ้นโดยใช้เมืองเอโดะเป็นศูนย์กลางในการปกครอง นับจากนั้นเมืองนี้ก็เติบโตขึ้นภายใต้การดูแลของโชกุนตระกูลโทะกุงะวะ  ที่ส่งต่ออำนาจกันต่อเนื่องเป็นเวลานานถึงสองร้อยกว่าปี ตลอดระยะเวลาอันยาวนานนั้นพระจักรพรรดิก็ยังคงมีอยู่ โดยประทับอยู่ที่เมืองหลวงคือเมืองเกียวโต แต่ไม่มีพระราชอำนาจใดๆ
             กระทั่ง พ.ศ. ๒๔๑๐ กลุ่มไดเมียวหรือขุนนางที่เคยอยู่ใต้อำนาจโชกุน พระจักรพรรดิและพระบรมวงศานุวงศ์ ได้ร่วมกันโค่นระบบโชกุนลงเป็นผลสำเร็จ ถือเป็นการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สมัยเมจิ และเมืองเอะโดะก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “โตเกียว” แปลว่าเมืองหลวงทางทิศตะวันออก 
             เรื่องราวความเป็นมาของโตเกียวทั้งหมดนี้ สามารถเรียนรู้ เข้าใจได้ผ่านการจัดแสดงใน "พิพิธภัณฑ์เอโดะ"  http://www.edo-tokyo-museum.or.jp พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ขนาดใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ในโตเกียว ดังตัวอย่างการจัดแสดงที่นำมาเสนอด้านล่างนี้ 


 

โทะกุงะวะ อิเอะยะสุ
โชกุนผู้ตั้งรัฐบาลทหารขึ้นมาปกครองประเทศ โดยอ้างว่าสืบเชื้อสายจากจักรพรรดิเซวะ นับจากนั้นลูกหลานในตระกูลนี้ก็ได้เป็นโชกุนสืบทอดตำแหน่งและอำนาจได้นานถึง ๒๕๐ ปี
เมืองเอะโดะถูกออกแบบจัดแบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆ โดยมีปราสาทเอะโดะเป็นศูนย์กลาง (ที่ตั้งพระราชวังอิมพีเรียลในปัจจุบัน) ล้อมด้วยเขตทหาร ส่วนศาสนสถานและชาวเมืองอยู่ถัดออกมารอบนอก
เมืองเอะโดะเติบโตเป็นเมืองการค้า มีการสร้างสะพานขนาดใหญ่เป็นเส้นทางสัญจรข้ามแม่น้ำเข้าสู่เมือง ตลอดฝั่งแม่น้ำเป็นเขตเศรษฐกิจการค้าที่คึกคักห้องโถงออกว่าราชการของโชกุน เป็นสถานที่สำคัญในการควบคุมเมือง และต้อนรับบรรดาขุนนางที่ต้องผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาประจำการที่เมืองเอะโดะปีเว้นปี
ไดเมียวที่ถูกบังคับให้เข้ามาประจำการในเอะโดะปีเว้นปี ต้องสร้างที่พัก ซึ่งใหญ่โตหรูหรา เพื่อให้เป็นที่พักของภรรยาและบุตรที่ถูกบังคับให้อยู่ในเมืองเอะโดะเป็นการถาวรด้วยเมืองเอะโดะมีประชากรจำนวนมาก แต่ก็ได้รับการดูแล ระบบสาธารณูปโภค เช่น ระบบประปาผ่านระบบรางที่ทำด้วยไม้ ส่งน้ำต่อมายังบ่อน้ำที่สร้างไว้ตามย่านชุมชน
เพลิงไหม้ เป็นภัยที่เกิดขึ้นบ่อย จึงมีการจัดตั้งหน่วยดับเพลิงในแต่ละเขต และมีการออกแบบเครื่องพ่นน้ำสำหรับดับไฟในระยะไกลด้วยแผนที่แสดงตำแหน่งสถานที่และวัดสำคัญในเมืองเอะโดะ แสดงให้เห็นถึงความเติบโตของเมือง และการเดินทางเข้ามาของผู้คนจากต่างเมือง ซึ่งไม่คุ้นเคยกับเมืองที่เติบโตซับซ้อนเช่นนี้
เมืองเอะโดะยังเป็นแหล่งก่อเกิดวัฒนธรรมเพื่อความบันเทิง ตอบสนองรสนิยมของชาวเมืองที่ทันสมัย เช่น ละครคาบูกิภาพพิมพ์เป็นสิ่งที่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะภาพสถานที่และดาราคาบูกิชื่อดัง สิ่งพิมพ์อื่นๆ  ไม่ว่าหนังสือความรู้ นิยาย การ์ตูน หรือข่าวสาร ก็เป็นงานพิมพ์ที่เกิดขึ้นมาในยุคนี้
ความรู้สมัยใหม่จากตะวันตกก็ได้รับความสนใจเช่นกัน โดยเฉพาะวิทยาการสมัยใหม่เมื่อเปลี่ยนมาสู่ยุคเมจิ เอะโดะเปลี่ยนชื่อเป็นโตเกียว เมื่ออเมริกาบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศ ทำให้มีการสร้างอาคาร และปรับปรุงประเทศตามแนวตะวันตก กลายเป็นเมืองอุตสาหกรรม
นอกจากแผ่นดินไหวแล้ว เมืองโตเกียวเคยย่อยยับเพราะการโจมตีทางอากาศสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ แต่ไม่ว่าจะถูกทำลายอย่างไร ก็ฟื้นกลับมาได้ทุกครั้งโตเกียวที่สร้างขึ้นใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ กลายเป็นเมืองที่ทันสมัย เปลี่ยนเป็นแหล่งธุรกิจ  ชาวเมืองก็มีความเป็นอยู่ที่ทันสมัย มีการคิดค้นเครื่องอำนวยความสะดวกใหม่ๆ เช่น เครื่องซักผ้า
         

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้