เพราะสภาพอากาศเปลี่ยน จึงเกิด “ภาชนะดินเผา” ยุคแรกของโลก

เพราะสภาพอากาศเปลี่ยน จึงเกิด “ภาชนะดินเผา” ยุคแรกของโลก

เพราะสภาพอากาศเปลี่ยน จึงเกิด “ภาชนะดินเผา” ยุคแรกของโลก
                ดร.ธนิก เลิศชาญฤทธ์ อธิบายไว้ในหนังสือเรื่อง “ภาชนะดินเผายุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย” ว่าภาชนะดินเผาเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกเมื่อกว่า 1 หมื่นปีมาแล้ว โดยปัจจุบันพบหลักฐานเก่าที่สุดอยู่ใน ๒ บริเวณของโลกด้วยกันคือ บริเวณแอฟริกาเหนือ และบริเวณเอเชียตะวันออก (จีน ญี่ปุ่น รัสเซีย)
                ดร.ธนิก อธิบายว่า การถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกของภาชนะดินเผา น่าจะมีที่มาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกเมื่อกว่า 1 หมื่นปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อระหว่างปลายยุคน้ำแข็งกับช่วงเข้าสู่ยุคอากาศอบอุ่นและชื้นขึ้น ทำให้เกิดพืชพรรณธัญญาหารและเกิดแหล่งน้ำที่มีสัตว์น้ำขึ้น พืชและสัตว์เหล่านี้ได้กลายมาเป็นอาหารสำคัญของมนุษย์ ปัจจัยนี้ส่งผลผลักดันให้มนุษย์คิดสร้างภาชนะดินเผาขึ้นเพื่อบรรจุ-ปรุงอาหาร และแพร่หลายสืบมาถึงปัจจุบัน โดยภาชนะดินเผายุคแรกนิยมทำรูปทรงเรียวสอบลงด้านล่าง และนิยมทำให้ผิวภาชนะหยาบด้วยการขูดขีดหรือนำเชือกมาทาบลงบนผิวภาชนะก่อนเผา เพื่อให้เกิดลายขรุขระ(ลายเชือกทาบ) ซึ่งการทำลายขรุขระเช่นนี้ ก็เพื่อลดความเสี่ยงในการแตกหักระหว่างเผาไฟ เพราะผิวที่ขรุขระจะนำพาความร้อนเข้าไปในเนื้อดินได้อย่างทั่วถึง รวมถึงยังเป็นการช่วยระบายความร้อนออกจากเนื้อดินในระหว่างการหุงต้มอาหาร อันจะทำให้ภาชนะดินเผาใบนั้นๆ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นด้วย
อ่านรายละเอียดของเรื่องนี้ และประเด็นน่าสนใจอื่นๆ ได้อีก ในหนังสือเรื่อง “ภาชนะดินเผายุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย” เขียนโดย รศ.ดร.ธนิก เลิศชาญฤทธ์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ผลิตโดย สำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส
ภาพ: ภาชนะดินเผาวัฒนธรรมโจมอน อายุราว 1 หมื่นปี พบที่ประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นภาชนะดินเผารุ่นแรกของโลก














 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้