ตึกสูงยุคแรกของไทย อยู่ที่เยาวราช ที่มาสำนวน “สวรรค์ชั้น 7”

ตึกสูงยุคแรกของไทย อยู่ที่เยาวราช ที่มาสำนวน “สวรรค์ชั้น 7”

ตึกสูงยุคแรกของไทย อยู่ที่เยาวราช ที่มาสำนวน “สวรรค์ชั้น 7”

                พิศาลศรี กระต่ายทอง อธิบายไว้ในงานวิจัยว่า ตึกสูงยุคแรกของสยาม กำเนิดขึ้นบนถนนเยาวราช ซึ่งถือเป็นถนนสายเศรษฐกิจการค้าลำดับต้นๆ ของกรุงเทพ ตึกสูงสำคัญแห่งหนึ่งบนถนนเยาวราชคือ ตึก 7 ชั้น สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2469 (สมัยรัชกาลที่ 7) มีชื่อเรียกว่า “กว็อกฮั้ว” หรือ “พิพิธพานิชสถาน” ปัจจุบันตึกหลังนี้ยังคงอยู่สืบมาถึงปัจจุบัน โดยปรับปรุงเป็นโรงแรมไชน่าทาวน์

                ตึกหลังนี้ถือเป็นตึกที่สูงสุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯในเวลานั้น ภายในตึกเป็นที่ตั้งของแหล่งนันทนาการต่างๆ เช่น ร้านอาหาร สถานออกกำลังกาย ห้องเล่นไพ่ ห้องฟังเพลง ห้องจัดแสดงสัตว์แปลก โรงแรม และยังมีการจำหน่ายสินค้าต่างๆ ด้วย โดยชั้น 7 จัดเป็น “สถานบันเทิง” หรือ “คลับ” หรือสโมสรสำหรับชาวจีน มีการจัดแสดงระบำนุ่งน้อยห่มน้อยของคณะนายหรั่ง เรืองนาม ซึ่งได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงมากในยุคนั้น จนเป็นที่มาของวลี “ขึ้นสวรรค์ชั้น 7” ซึ่งเป็นสำนวนยอดฮิตสืบต่อมาที่สื่อถึงการมีความสุขอย่างมาก

อ่านรายละเอียดของเรื่องนี้ได้ในวิทยานิพนธ์เรื่อง อาคารสูงยุคแรกในสยาม ทศวรรษ 2390-2470 สาขาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร,2557 โดย พิศาลศรี กระต่ายทอง

(ที่มาภาพ : อาคารสูงยุคแรกในสยาม ทศวรรษ 2390-2470)

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้