จิตรกรรม 200 ปี “พระอินทร์-นางสามาวดี” วัดลำปางหลวง ยอพระเกียรติพระเจ้าทิพย์ช้าง-พระเจ้ากาวิละ

จิตรกรรม 200 ปี “พระอินทร์-นางสามาวดี” วัดลำปางหลวง ยอพระเกียรติพระเจ้าทิพย์ช้าง-พระเจ้ากาวิละ

จิตรกรรม 200 ปี “พระอินทร์-นางสามาวดี” วัดลำปางหลวง

ยอพระเกียรติพระเจ้าทิพย์ช้าง-พระเจ้ากาวิละ

        ที่วิหารน้ำแต้ม วัดพระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง มีจิตรกรรมเก่าแก่เขียนไว้ที่ “ฝาหยาบ” ทั้งสองข้างของวิหาร ด้านเหนือเขียนเรื่องประวัติพระอินทร์(มฆมาณพ) ด้านใต้เขียนเรื่องนางสามาวดี เอกทัตคะผู้มีความเมตตา มเหสีของพระเจ้าอุเทนราช ผู้มีวิชาช้าง

        ผศ.ดร.ชาญคณิต อาวรณ์ เสนอไว้ในหนังสือ “จิตรกรรมล้านนา” ว่า จิตรกรรมแห่งนี้น่าจะเขียนขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 24 สมัยพระเจ้ากาวิละ กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ในยุคต้นรัตนโกสินทร์ โดยจิตรกรรมเรื่องประวัติพระอินทร์ น่าจะเขียนขึ้นเพื่อยอพระเกียรติพระเจ้ากาวิละ ว่าทรงเป็นดั่งพระอินทร์ ตามคติการยกย่องกษัตริย์ที่แพร่หลายในต้นรัตนโกสินทร์ ส่วนเรื่องนางสามาวดี น่าจะเขียนขึ้นเพื่อยอพระเกียรติพระเจ้าทิพย์ช้าง พระอัยกา ปฐมวงศ์แห่งราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนและพระมเหสี ซึ่งทรงมี "วิชาช้าง" เช่นเดียวกับพระเจ้าอุเทนราช และทรงมี “บ้านเกิด” ในย่านวัดพระธาตุลำปางหลวง

อ่านรายละเอียดของเรื่องนี้และประเด็นน่าสนใจอื่นๆ ได้ใน หนังสือ “จิตรกรรมล้านนา พุทธประวัติ ทศชาติ ชาดกนอกนิบาต” ผศ.ดร.ชาญคณิต อาวรณ์ ผลิตโดย สำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้