เผยผลวิจัย วิธีสร้างปรางค์อยุธยา “ขึ้นโครงไม้ แล้วก่ออิฐ”

เผยผลวิจัย วิธีสร้างปรางค์อยุธยา “ขึ้นโครงไม้ แล้วก่ออิฐ”

เผยผลวิจัย วิธีสร้างปรางค์อยุธยา “ขึ้นโครงไม้ แล้วก่ออิฐ”

           สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ คณะสถาปัตยกรรมฯ ม.ศิลปากร วิจัยพบว่า ปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนต้น มีเทคนิควิธีการก่อสร้างประการหนึ่งคือ การใช้ “ไม้แบบ” มาเป็นโครงของปรางค์ โดยจะก่อไม้ขึ้นเป็นโครงของปรางค์ก่อน แล้วจึงก่ออิฐตามโครงไม้นั้น การใช้เทคนิคนี้ก็เพื่อให้สามารถก่ออิฐให้ได้ตรงดิ่ง มีสัดส่วนสมมาตร เป็นไปตามที่ออกแบบไว้

          ไม้แบบที่ใช้ในการสร้างปรางค์ดังกล่าวนี้ สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทคือ

          ไม้เนื้อแข็ง ใช้กับปรางค์ที่ก่ออิฐแบบสันเหลื่อมตรง เช่น ปรางค์วัดส้ม วัดลังกา วัดโลกยสุทธา

          ไม้ไผ่ ใช้กับปรางค์ที่ก่ออิฐแบบสันเหลื่อมโค้ง เช่น ปรางค์วัดนก

          ไม้แบบเหล่านี้ เมื่อสร้างปรางค์เสร็จแล้ว อาจมีการรื้อออกหรือทิ้งไว้ ดังที่พบว่าปรางค์บางองค์ยังมีเศษซากไม้หลงเหลืออยู่ ขณะที่บางองค์ไม้แบบได้ผุผังไปแล้ว แต่ยังเห็นร่องรอยบนผนังอิฐอยู่

อ่านรายละเอียดของเรื่องนี้ได้ในบทความเรื่อง “เทคนิคการก่อสร้างเจดีย์อิฐทรงปรางค์ชนิดมีห้องเรือนธาตุในสมัยอยุธยาตอนต้นในพื้นที่เกาะพระนครศรีอยุธยา” โดย สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ วารสารหน้าจั่ว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร คลิกอ่านที่นี่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA/article/view/259538/175683

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้