พระปาลิไลยก์ ,วัดไชยวัฒนาราม ,พระมงคลบพิตร เครื่องมือสร้างความชอบธรรมของพระเจ้าปราสาททอง

พระปาลิไลยก์ ,วัดไชยวัฒนาราม ,พระมงคลบพิตร เครื่องมือสร้างความชอบธรรมของพระเจ้าปราสาททอง

พระปาลิไลยก์ ,วัดไชยวัฒนาราม ,พระมงคลบพิตร 
เครื่องมือสร้างความชอบธรรมของพระเจ้าปราสาททอง
         ผศ.พิชญา สุ่มจินดา คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เสนอข้อสันนิษฐานใหม่เกี่ยวกับศิลปกรรมรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สมัยอยุธยา ไว้อย่างน่าสนใจ โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้

  1. เดิมสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงเป็นขุนนางมาก่อน แต่ต่อมาได้เข้ายึดอำนาจจากราชวงศ์สุโขทัย และยังได้สำเร็จโทษพระเยาวกษัติรย์ไปถึง 2 พระองค์ พระองค์จึงมีปัญหาความชอบธรรมในการขึ้นครองราชย์ ดังนั้นสมเด็จพระเจ้าปราสาททองจึงต้องดำเนินนโยบายสร้างความชอบธรรมอย่างเข้มข้น เพื่อแสดงว่าทรงมีความเหมาะสมกับราชสมบัติและมีบุญบารมี
  2. การสร้างความชอบธรรมดังกล่าวนี้ มีหัวใจสำคัญอยู่ที่การสร้างความหมายให้พระองค์ทรงเป็นหรือเคยเป็นหรือจะเป็นบุคคลสำคัญต่างๆ เช่น ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ทรงเคยเป็นช้างปาลิไลยก์ที่ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในชาติปางก่อน ทรงเปรียบเป็นพระกฤษณะ ผู้มาปราบยุคเข็ญ และในอนาคตจะทรงเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 10 พระนามว่า พระสุมังคลพุทธเจ้า รวมทั้งยังแสดงว่าพระองค์ทรงสืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์กัมพูชาโบราณด้วย
  3. การสร้างความชอบธรรมนี้ กระทำผ่านกระบวนการต่างๆ ที่เห็นได้ชัดคือ การสร้างศิลปกรรมเพื่อสนับสนุนความเชื่อนั้นให้เป็นรูปธรรม เช่น การสร้างพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นแบบประทับนั่งห้อยพระบาท มีรูปช้างและลิงประกอบอยู่ทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ที่เริ่มแพร่หลายตั้งแต่สมัยนี้ เพื่อสื่อถึงความเชื่อที่ว่าพระองค์เคยเกิดเป็นช้างปาลิไลยก์ โดย ผศ.พิชญา สุ่มจินดา สันนิษฐานว่า เศียรพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่เดิมเคยมีผู้เสนอว่า เป็นเศียรของพระศรีสรรเพชญ์ น่าจะเป็นเศียรของพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์องค์นี้ นอกจากนี้ยังมีศิลปกรรมอีกหลายประการที่สร้างขึ้นเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ดังตารางสรุปต่อไปนี้
ศิลปกรรม
สร้างขึ้นตามคติใด
พระปาลิไลยก์ วัดพระศรีสรรเพชญ์
ทรงเคยเป็นช้างปาลิไลยก์
วัดไชยวัฒนาราม ปราสาทนครหลวง พระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์
ทรงสืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์กัมพูชา
พระพุทธรูป 3 องค์ ในอุโบสถวัดไชยวัฒนารามสื่อถึงอดีตพุทธ ปัจจุบันพุทธ และอนาคตพุทธเจ้า ซึ่งหมายถึงสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
พระมงคลบพิตร
ทรงเป็นอนาคตพุทธเจ้า
หน้าบัน อุโบสถวัดหน้าพระเมรุ
ทรงเปรียบเป็นพระกฤษณะ













 

ฟังรายละเอียดของเรื่องนี้ได้ในการบรรยายเรื่อง สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง รัฐประหาร ความชอบธรรม พิธีกรรม ศิลปะ โดย ผศ.พิชญา สุ่มจินดา คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้