เขาพระวิหารในมุมมอง ดร.ชาญวิทย์
ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์ ได้อธิบายถึงที่มาของปัญหาเขาพระวิหาร สรุปได้ดังนี้
1. ประเด็นนี้เริ่มเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เริ่มมีการขีดเส้นเขตแดนอย่างชัดเจน อันเป็นไปตามรูปแบบของรัฐชาติแบบใหม่ หลังจากที่ก่อนหน้านั้นรัฐในภูมิภาคนี้ ยังเป็น “รัฐแบบจารีต” ที่ไม่มีการขีดเส้นพรมแดนเป็นรูปเป็นร่างอย่างชัดเจน
2. การขีดเส้นเขตแดนในสมัยรัชกาลที่ 5 ดำเนินไปด้วยข้อตกลงร่วมกันระหว่างอังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมของลาว พม่า กัมพูชา มาลายู โดยมีทั้งการได้ดินแดนเพิ่มเติม และเสียบางส่วนไป
3. ต่อมาในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคมกัมพูชา-ลาวอ่อนแอลง รัฐไทยได้มีการปลุกเร้ากระแสชาตินิยม ขยายอาณาจักรไทยให้กว้างขวาง จึงก่อให้เกิดสงครามอินโดจีน เพื่อเข้ายึดครองดินแดนที่เชื่อว่าเคยเป็นของไทยมาก่อนกลับคืนมา เช่น มีการยึดเอาเมืองเสียมราฐของกัมพูชาและบริเวณใกล้เคียงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของไทย โดยมีญี่ปุ่นเป็นตัวกลางช่วยไกล่เกลี่ยให้ไทยได้ดินแดนมา
4. แต่หลังจากญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยซึ่งถือเป็นพันธมิตรสงครามด้วย จึงต้องคืนดินแดนที่ยึดมาในช่วงนั้นกลับไปดังเดิม
5. สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ได้มีการจุดประเด็นเขาพระวิหารขึ้น เพื่อทวงคืนดินแดน นำไปสู่การฟ้องร้องต่อศาลโลก จนในที่สุดศาลโลกสั่งให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา
สามารถอ่าน e-book เรื่องลัทธิชาตินิยมไทยสยามกับกัมพูชาฯ โดย ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ได้ที่ link นี้
http://puey-ungphakorn.org/?page_id=174
หรืออ่านข้อสรุปของปัญหา หลังจากการขึ้นให้การต่อศาลโลกในกรณีข้อพิพาทล่าสุด(เมษายน 56) โดย อ.พวงทอง ภวัครพันธุ์ ได้ที่ link นี้ http://prachatai.com/journal/2013/04/46251