“นางกวัก” ไทย – “แมวกวัก” ญี่ปุ่น เกิดขึ้นเมื่อใด เกี่ยวข้องกันไหม?

“นางกวัก” ไทย – “แมวกวัก” ญี่ปุ่น เกิดขึ้นเมื่อใด เกี่ยวข้องกันไหม?

“นางกวัก” ไทย – “แมวกวัก” ญี่ปุ่น เกิดขึ้นเมื่อใด เกี่ยวข้องกันไหม?
                อรุณศักดิ์ กิ่งมณี นักโบราณคดี กรมศิลปากร อธิบายไว้ในหนังสือ “ทิพยประติมา” ว่า ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่า การสร้างรูป “นางกวัก” ซึ่งเป็นรูปมงคลที่เชื่อว่าจะกวักโชคลาภเงินทองมาให้ เริ่มต้นสร้างขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใด แต่จากการสำรวจโบราณวัตถุที่หลงเหลืออยู่ ทำให้สันนิษฐานในเบื้องต้นได้ว่า อาจเริ่มสร้างขึ้นในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์มานี่เอง โดยอาจเริ่มนิยมสร้างขึ้นในช่วงเวลาที่มีการขยายตัวทางการค้าในกรุงเทพฯและหัวเมืองใหญ่ ราวสมัยรัชกาลที่ 4-5 ก็เป็นได้ สอดรับกับการพบสมุดไทดำว่าด้วยการสร้างและบูชานางกวัก ที่เขียนขึ้นราวสมัยรัชกาลที่ 4-5 เช่นกัน
                สำหรับการสร้างรูปบุคคลกำลังทำท่า “กวัก” คล้ายกันนี้ ในโลกนี้ยังพบได้อีกที่ญี่ปุ่น แต่หากทำเป็นรูปแมว นักวิชาการญี่ปุ่นอธิบายว่า การทำรูป "แมวกวัก" สร้างขึ้นมาแล้วอย่างน้อย ราว พ.ศ.2395 หรือในสมัยรัชกาลที่ 4 และแพร่หลายอย่างมากหลังจากที่ญี่ปุ่นเปิดประเทศ ซึ่งส่งผลให้เกิดการค้าของญี่ปุ่นขยายตัวอย่างมาก
                ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่า นางกวักและแมวกวัก จะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร หรือไม่?

อ่านรายละเอียดของเรื่องนี้ และประเด็นน่าสนใจอื่นๆ ได้อีก ในหนังสือเรื่อง “ทิพยประติมา” เขียนโดย อรุณศักดิ์ กิ่งมณี ผลิตโดย สำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้