ภาพ “แห่พระ” เก่าแก่ที่สุดในไทย

ภาพ “แห่พระ” เก่าแก่ที่สุดในไทย

ภาพ “แห่พระ” เก่าแก่ที่สุดในไทย
     ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวถึงประเพณีการแห่พระไว้ในหนังสือ “พระพุทธปฏิมาสยาม” ว่า ประเพณีการแห่พระน่าจะมีมานานแล้ว โดยมักมีการอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญของชุมชนออกมาแห่แหนไปรอบๆ ชุมชน เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชุมชนนั้น ซึ่งหากพระพุทธรูปองค์นั้นๆ มีขนาดใหญ่เกินกว่าจะเคลื่อนย้ายได้สะดวก ก็มักมีการจำลองขึ้นใหม่เป็นองค์ขนาดพอเหมาะ เพื่อใช้ในการแห่แหนแทนองค์จริง
     สำหรับหลักฐานที่แสดงถึงประเพณีการแห่พระที่เก่าแก่ที่สุด เท่าที่พบในขณะนี้ ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ระบุว่าคือ ภาพสลักบนทับหลังของระเบียงคด ปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา เป็นภาพขบวนแห่พระพุทธรูปนาคปรก อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ภาพนี้ประกอบไปด้วยภาพกลุ่มบุคคลกำลังตีฆ้องและประโคมดนตรีอยู่ด้านหน้าขบวน ถัดมาเป็นเสลี่ยงอัญเชิญพระพุทธรูปนาคปรก ส่วนท้ายขบวนมีช้างตามอยู่เชือกหนึ่ง คาดว่าพระพุทธรูปนาคปรกองค์นี้ น่าจะเป็นองค์จำลองของ พระกรมเตง ชคต วิมาย” พระพุทธรูปประธานของปราสาทหินพิมาย ซึ่งองค์จริงอาจมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะเคลื่อนย้ายได้สะดวก
อ่านรายละเอียดเรื่องนี้และประเด็นน่าสนใจอื่นๆ ได้ใน หนังสือ “รู้เรื่องพระพุทธรูป” โดย รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง” สำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส
 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้