มณฑปวัดศรีชุม มีรูปทรงคล้าย “กู่กุด”?

มณฑปวัดศรีชุม มีรูปทรงคล้าย “กู่กุด”?

มณฑปวัดศรีชุม มีรูปทรงคล้าย “กู่กุด”?

      
             
เป็นที่สงสัยกันมานานแล้วว่า ส่วนบนหรือหลังคาของมณฑปวัดศรีชุม จ.สุโขทัย ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐาน “พระอจนะ” เดิมทีจะมีรูปร่างอย่างไร?
บางท่านเสนอว่า เดิมส่วนบนเคยเป็นเจดีย์ บ้างก็ว่าอาจเป็นหลังคาโครงสร้างไม้ซ้อนชั้น แต่ล่าสุด ปิแอร์ ปิชาร์ด นักวิชาการชาวฝรั่งเศส ได้เสนอว่า อาจเคยเป็นอาคารสูงคล้ายๆ “เจดีย์กู่กุด”
ปิแอร์ ปิชาร์ด เสนอว่า มณฑปวัดศรีชุมที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ เดิมคงตั้งใจสร้างขึ้นเป็นอาคารทรงสูง ขึ้นคลุมพระอจนะ ซึ่งมีรูปทรงภายนอกคล้าย “เจดีย์กู่กุด” จ.ลำพูน แต่สร้างไม่เสร็จ ทำได้เพียงส่วนฐานล่างเท่านั้น โดยเขาได้ยกเหตุผลต่างๆ พอสรุปได้ดังนี้
1 รูปทรงอาคารทรงสี่เหลี่ยม โดยที่ฐานล่างสุดและที่ด้านบนของอาคารไม่มีการทำฐานบัว ต่างจากมณฑปทั่วไปในสุโขทัย แต่คล้ายกับเจดีย์กู่กุด
2 โครงสร้างของมณฑปที่มีความแข็งแรงกว่าอาคารอื่นๆ  โดยมีมีผนังหนามากถึง 2.70 เมตร คาดว่าทำขึ้นเพื่อรับน้ำหนักของโครงสร้างด้านบนที่มีขนาดสูงใหญ่
3 ผนังภายในมณฑปที่เอนสอบเข้า แสดงให้เห็นถึงเทคนิคการก่ออิฐที่ก่อเหลื่อมเข้าทีละน้อย เพื่อให้ทั้งสี่ด้านมาบรรจบกันที่ด้านบน คล้ายการก่อเจดีย์ทั่วไป  ซึ่งทำให้คาดว่าส่วนบนของมณฑปน่าจะเป็นอาคารก่ออิฐ
4 อุโมงค์ในผนัง ซึ่งทอดยาวจากพื้นและไต่ระดับขึ้นไปสู่ด้านบนมณฑป คาดว่าหากสร้างส่วนยอดของมณฑปจนสำเร็จ อุโมงค์คงทอดยาวเวียนประทักษิณต่อไปจนถึงด้านบนสุด และรูปชาดกที่ติดตั้งไว้ภายใน คงประดับต่อไปจนครบ 500 ชาติ จากเดิมที่ทุกวันนี้พบราว 100 ชาติเท่านั้น

เก็บความจาก บทความเรื่อง “มณฑปวัดศรีชุม มุมมองใหม่” อ.พีระพัฒน์ สำราญ แปลจากบทความของ อ.ปิแอร์ ปิชาร์ด เผยแพร่ในวารสาร “หน้าจั่ว” โดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร ฉบับ ก.ย.-ส.ค. 53  หรืออ่านเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ Past lives of the Buddha wat si chum เขียนโดย ปิแอร์ ปิชาร์ด โดยสำนักพิมพ์ริเวอร์บุ๊ค 
 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้