ส้วมพระสมัยโบราณ แยก “อุจจาระ” และ “ปัสสาวะ” ออกจากกัน

ส้วมพระสมัยโบราณ แยก “อุจจาระ” และ “ปัสสาวะ” ออกจากกัน

ส้วมพระสมัยโบราณ แยก “อุจจาระ” และ “ปัสสาวะ” ออกจากกัน
                                       
                รศ.สมคิด จิระทัศนกุล อธิบายไว้ในหนังสือ “รู้เรื่อง วัด วิหาร โบสถ์ เจดีย์ พุทธสถาปัตยกรรมไทย” ว่า ในพระวินัยข้อหนึ่ง ระบุว่าวัดทุกแห่งจะต้องมี “ส้วม” หรือ “เว็จกุฎี”  โดยจะต้องจัดระบบให้อุจจาระ(คูถ) และ ปัสสาวะ (มูตร) ออกจากกัน เพื่อสุขอนามัยของคณะสงฆ์ เนื่องจากหากปัสสาวะรวมเข้ากับอุจจาระ จะทำให้เกิดการหมักเน่า ส่งกลิ่นเหม็น เกิดหนอน ทำให้แมลงวันตอม ส่งผลให้เกิดโรคระบาดได้ การแยกปัสสาวะออกไปไม่ให้ไหลเข้าปนกับอุจจาระ จะทำให้อุจจาระแห้งเร็วขึ้น ไม่ส่งกลิ่นเหม็นรุนแรง
              ในประเทศไทย พบการจัดระบบแยกอุจจาระกับปัสสาวะมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมา ซึ่งคาดว่าคงได้รับวิถีปฏิบัติมาจากสงฆ์ฝ่ายลังกา  ดังได้พบหลักฐานแผ่นหิน ซึ่งคาดว่าทำขึ้นเพื่อปิดปากหลุมส้วม แผ่นหินนี้เจาะเป็นช่องกลมหนึ่งช่องสำหรับเป็นช่องอุจจาระ ส่วนทางด้านหน้าเซาะเป็นร่องยาว เพื่อเป็นร่องรับน้ำปัสสาวะให้ไหลแยกไปอีกทางหนึ่ง
               นอกจากในสมัยสุโขทัยแล้ว คาดว่าคงมีการทำ “เว็จกุฎี” ระบบนี้สืบต่อมาเป็นเวลานาน แต่ด้วยเทคนิคการก่อสร้างส้วมแบบใหม่ที่ทันสมัย มีถังกักเก็บที่มีสุขอนามัยที่ดี ไม่มีกลิ่น ซึ่งเกิดขึ้นมาเมื่อหลายสิบปีก่อน ทำให้ “เว็จกุฎี” แบบโบราณหมดความนิยมไป แล้วหันมาทำในระบบใหม่ทั้งหมด
               อย่างไรก็ตามทุกวันนี้ยังคงมี “เว็จกุฎี” แบบโบราณหลงเหลืออยู่ในต่างจังหวัดบ้าง ดังเช่นที่วัดใหญ่สุวรรณาราม จ.เพชรบุรี ซึ่งยังคงเก็บรักษาไว้ โดยทำเป็นอาคารยกพื้นสูง  มีช่องลมระบาย  ด้านข้างอาคารมีรางระบายปัสสาวะยื่นออกมา เพื่อแยกปัสสาวะให้ไหลแยกออกมาทิ้งที่ด้านนอกอาคาร ส่วนอุจจาระก็จะตกลงไปที่ใต้ถุน ซึ่งมีลมโกรกจะทำให้อุจจาระแห้งเร็วขึ้น

อ่านรายละเอียดของเรื่องนี้และประเด็นน่าสนใจอื่นๆ ได้อีกใน หนังสือ “รู้เรื่อง วัด วิหาร โบสถ์ เจดีย์ พุทธสถาปัตยกรรมไทย” เขียนโดย รองศาสตราจารย์ สมคิด จิระทัศนกุล ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้