ขุด เจดีย์วัดธรรมศาลา สมัยทวารวดี - ปัญหาเจดีย์ทวาฯ มีรูปลักษณ์อย่างไร

ขุด เจดีย์วัดธรรมศาลา สมัยทวารวดี - ปัญหาเจดีย์ทวาฯ มีรูปลักษณ์อย่างไร

ขุด “เจดีย์วัดธรรมศาลา” สมัยทวารวดี 
- ปัญหาเจดีย์ทวาฯ มีรูปลักษณ์อย่างไร?

           
          ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2555 สำนักศิลปากรที่ 2 จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ดำเนินโครงการขุดแต่งเนินโบราณสถานขนาดใหญ่ในวัดธรรมศาลา  ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม อ.เมือง จังหวัดนครปฐม เจดีย์แห่งนี้ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของเมืองนครปฐมโบราณ ริมคลองบางแก้ว ใกล้กับเจดีย์พระประโทณ เจดีย์สมัยทวารวดีขนาดใหญ่ กลางเมืองนครปฐมโบราณ 
         หลังจากที่นักโบราณคดีได้ขุดแต่งเนินโบราณสถานแห่งนี้ไปส่วนหนึ่ง ทำให้พบว่าเดิมคือเจดีย์สมัยทวารวดี ซึ่งคาดว่าสร้างขึ้นราว 1,000 ปีมาแล้ว
         รูปลักษณ์ของเจดีย์แห่งนี้ มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์ทวารวดีทั่วไป คือ มีฐานสี่เหลี่ยมซ้อนชั้นขนาดใหญ่ มีการยกเก็จ หรือยกกระเปาะเป็นช่วงๆ ที่ผนังของฐานมีการประดับปูนปั้นรูปใบไม้ ดอกไม้ตามแบบทวารวดี ส่วนด้านบนของเจดีย์ที่พังทลายไปแล้ว มีซากฐานของสถาปัตยกรรมที่คาดว่าคือพระปรางค์สมัยอยุธยา-รัตนโกสินทร์สร้างทับอยู่ด้านบนคล้ายกับการสร้างซ้อนทับที่พระประโทนเจดีย์ และพระปฐมเจดีย์องค์ดั้งเดิม
        นักโบราณคดีรายงานว่า จากการขุดแต่งได้พบเศษชิ้นส่วนปูนปั้นจำนวนมาก คละเคล้าอยู่ในกองอิฐ ซึ่งคาดว่าเดิมใช้ประดับผนังของฐานเจดีย์ชั้นต่างๆ และพบฐานประติมากรรมตั้งอยู่บริเวณลานประทักษิณชั้นที่สอง รวมทั้งที่ลานประทักษิณชั้นที่สองนี้ยังพบร่องรอยการก่ออิฐที่คล้ายกับส่วนลำแข้งและเท้า ซึ่งดูเหมือนพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทอีกด้วย นอกจากนี้ที่ลานชั้นล่างรอบเจดีย์ยังพบเศษชิ้นส่วนสถูปจำลองทำด้วยปูนปั้น ซึ่งประกอบด้วย องค์ระฆัง และฉัตรซ้อนชั้น 
         การขุดแต่งที่เผยให้เห็นเจดีย์สมัยทวารวดีแห่งนี้ ช่วยเพิ่มมุมมองต่อการศึกษาเจดีย์ในสมัยนี้ให้ทวียิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีประเด็นคำถามสำคัญถึง “ส่วนบน” ของเจดีย์ทวารวดีว่าแต่เดิมมีรูปลักษณ์อย่างไร ทั้งนี้เนื่องจากทุกวันนี้ยังไม่พบเจดีย์ทวารวดีที่มีส่วนบนอยู่สภาพสมบูรณ์ ทุกองค์ล้วนพังทลายไปจนไม่เหลือเค้าเดิมแทบทั้งสิ้น แต่ได้มีบางท่านคาดว่าเดิมน่าจะมีรูปแบบโดยรวมเป็นเจดีย์ทรงกลม มักตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมซ้อนชั้นขนาดใหญ่ 1 ชั้นขึ้นไป ที่ฐานมีการประดับปูนปั้นหรือดินเผารูปต่างๆ และอาจมีบันไดทอดขี้นไปบนลานประทักษิณด้วย
         ในที่นี้จึงขอนำภาพของเจดีย์เก่าแก่ที่พบในอินเดีย(โดยเฉพาะตอนเหนือ รวมถึงบริเวณใกล้เคียงนั่นคือ ปากีสถาน อัฟกานิสถาน) มาเป็นตัวอย่างเพื่อสร้างจินตนาการถึงเจดีย์สมัยทวารวดีว่าควรเป็นแบบใด? เจดีย์อินเดียเหล่านี้ มักมีฐานสี่เหลี่ยมซ้อนชั้นขนาดใหญ่ ด้านบนเป็นเจดีย์ทรงกลม ที่ฐานมีนิยมประดับปูนปั้นหรือดินเผาเช่นเดียวกับเจดีย์ทวารวดี เท่าที่พบมีทั้งที่สร้างขึ้นร่วมสมัยกับยุคทวารวดี และสร้างขึ้นก่อนหน้า เช่น เจดีย์ยุคคันธาระ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะตะวันตกและน่าจะเป็นต้นเค้าสำคัญให้แก่เจดีย์ในสมัยต่อๆ มา รวมถึงอาจเป็นต้นเค้าให้แก่เจดีย์ทวารวดีด้วย



 












เจดีย์วัดธรรมศาลา จังหวัดนครปฐม












ฐานเจดีย์ ประดับด้วยปูนปั้นรูปใบไม้ ดอกไม้











ชิ้นส่วนสถูปจำลอง พบที่ลานรอบเจดีย์











ฐานอาคาร คาดว่าเป็นพระปรางค์ สร้างทับไว้ด้านบน 












ปูนปั้นใบหน้าบุคคล












ปูนปั้น ยักษ์แบก











สถูปราย jaulian ปากีสถาน สมัยคันธาระ
(ภาพ: www.wikipedia.org)











สถูปguldara อัฟกานิสถาน สมัยคันธาระ
(ภาพ: www.lgpn.ox.ac.uk)






















สถูปขนาดเล็ก เมือง taxila ปากีสถาน สมัยคันธาระ
(ภาพ: www.elisabeth-thoburn.com)























สถูป hadda อัฟกานิสถาน สมัยคันธาระ
จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์กีเมต์ฝรั่งเศส
(ภาพ: www.washington.edu)














ยักษ์แบก(atlas เทพกรีก) ประดับฐานสถูป ยุคคันธาระ อัฟกานิสถาน จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์กีเมต์ ฝรั่งเศส
ต้นเค้ายักษ์แบกทวารวดี(ภาพ: www.washington.edu)














ฐานสถูปเมืองนาลันทา หมายเลข12 สมัยคุปตะ
(ภาพ: www.panoramio.com)













ภาพจำลองสถูป devnimori คุชราต
(ภาพ:www.thehindu.com)













สถูป chaukhandi สารนาถ สมัยคุปตะ
(ภาพ: www.wikipedia.com)














ฐานสถูปนาลันทาหมายเลข 2 ประดับปูนปั้นรูปต่างๆ
(ภาพ: www.huntington.wmc.ohio-state.edu)













ฐานสถูป hadda อัฟกานิสถาน ที่ฐานชั้นล่างประดับด้วยคนแบก ช้างแบก สิงห์แบก ฐานชั้นบนประดับด้วยรูปพระพุทธเจ้า
จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์กีเมต์ ฝรั่งเศส
(ภาพ: www.washington.edu)
  

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้