อเมริกาเกือบไม่มี “สมิธโซเนียน” เพราะ “ต้านอังกฤษ”

อเมริกาเกือบไม่มี  “สมิธโซเนียน” เพราะ “ต้านอังกฤษ”

อเมริกาเกือบไม่มี  “สมิธโซเนียน” เพราะ “ต้านอังกฤษ” 
             สถาบันสมิธโซเนียนคือ สถาบันการเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่กลางกรุงวอชิงตัน ใกล้ๆ กับสภาคองเกรส ปัจจุบันสถาบันแห่งนี้มีอายุครบ 170 ปี
             เว็บไซต์ของสถาบันเผยแพร่บทความเล่าถึงความเป็นมาของสถาบันแห่งนี้ว่า สถาบันสมิธโซเนียนก่อตั้งขึ้นหลังจาก นาย James Smithson นักวิทยาศาสตร์ ชาวอังกฤษ ได้ทำมรดกยกทรัพย์สมบัติอันมหาศาลของเขา ให้แก่หลานชาย โดยกำหนดว่าหากหลานชายของเขาได้เสียชีวิตลง โดยที่ไม่มีทายาทสืบสกุล จะต้องยกสมบัติทั้งหมดให้แก่สหรัฐอเมริกา เพื่อจัดตั้งสถาบันขึ้นทำหน้าที่ศึกษาและเผยแพร่ความรู้ให้แก่มวลมนุษย์ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการบริจาคเพื่อสาธารณะประโยชน์ที่นิยมกันในหมู่มหาเศรษฐีตะวันตก กระทั่งในที่สุด ค.ศ.1835 หลานชายของเขาได้เสียชีวิตลงโดยไม่มีทายาท ทรัพย์สมบัติอันมหาศาลทั้งหมดจึงต้องส่งมอบให้แก่สหรัฐอเมริกาตามประสงค์ของนาย James Smithson
              ทางการสหรัฐฯ ได้ส่งเรื่องดังกล่าวนี้เข้าสู่สภาคองเกรสเพื่อให้สภาพิจารณา เนื่องจากไม่มีกฎหมายรองรับ สภาได้มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางต่อประเด็นดังกล่าว โดยมีกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย ให้เหตุผลประการหนึ่งว่า สหรัฐฯ ไม่ควรรับมรดกชิ้นนี้ เนื่องจากอังกฤษเคยเป็นคู่สงคราม ที่เคยโจมตีและเผากรุงวอชิงตันไปเมื่อ 20 ปีก่อน และเป็นเรื่องอันตรายไม่เหมาะสมที่จะรับมรดกชิ้นนี้ ส่วนกลุ่มที่เห็นด้วย เช่น นาย John Quincy Adams อดีตประธานาธิบดีและในเวลานั้นดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภา ให้เหตุผลว่า ควรที่จะพิจารณาถึงจุดประสงค์อันจริงใจของผู้มอบที่ต้องการเน้นถึงการศึกษาและเผยแพร่ความรู้ ดังนั้นสมควรรับมรดกชิ้นนี้ไว้ พร้อมกันนั้นฝ่ายตุลาการก็พิจารณาว่ารัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาไม่ได้ห้ามในประเด็นดังกล่าว และสามารถทำได้หากเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อประเทศ จนในที่สุดสภาคองเกรสก็เห็นชอบรับมรดกชิ้นดังกล่าวนี้ โดยมอบอำนาจให้ประธานาธิบดีจัดตั้งสถาบันสมิธโซเนียนขึ้น จนต่อมากลายเป็นสถาบันการเรียนรู้ชั้นนำของสหรัฐอเมริกา  และดำรงสืบมาถึงปัจจุบัน
อ่านรายละเอียดเรื่องนี้ได้ใน http://www.smithsonianmag.com/smithsonian-institution/looking-james-smithsons-gift-horse-mouth-180956107/?utm_source=facebook.com&no-ist
(ภาพ: https://www.si.edu)

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้