ดาบฟ้าฟื้น+พระขรรค์ชัยศรี ใน “ขุนแผน” สะท้อนวัฒนธรรม “เขมร+ลาว” ในกรุงศรีฯ

ดาบฟ้าฟื้น+พระขรรค์ชัยศรี ใน “ขุนแผน” สะท้อนวัฒนธรรม “เขมร+ลาว”  ในกรุงศรีฯ

ดาบฟ้าฟื้น+พระขรรค์ชัยศรี ใน “ขุนแผน” สะท้อนวัฒนธรรม “เขมร+ลาว”  ในกรุงศรีฯ
          สุจิตต์ วงษ์เทศ นักคิดนักเขียนด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ผู้ก่อตั้งนิตยสารศิลปวัฒนธรรม บรรยายหัวข้อ “การเมืองในภาษาและวรรณกรรมก่อนเป็นไทย”  กล่าวถึงภาษาไทยว่า มีที่มาจากภาษาตระกูลไท-ไต บริเวณภาคใต้ของจีน ซึ่งต่อมาได้แพร่หลายไปพร้อมกับการค้าภายในภูมิภาค ที่ขยายตัวเพื่อตอบรับกับการค้าทางทะเลที่เฟื่องฟูขึ้น  โดยถูกใช้เป็นภาษากลางในการค้า และพัฒนาต่อมาเป็นภาษาท้องถิ่นของภูมิภาคลุ่มเจ้าพระยา
          สุจิตต์ ยังเล่าถึงวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนไว้อย่างน่าสนใจตอนหนึ่งว่า เรื่องดั้งเดิมของขุนช้างขุนแผนก่อนที่จะถูกปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาเป็นอย่างในปัจจุบันนั้น เป็นวรรณคดีที่มีโครงเรื่องเพื่อสดุดีวีรชนในตำนาน โดยผู้แต่งต้องการสื่อนัยถึงความเป็นคนไทยในกรุงศรีอยุธยาว่า เกิดจากการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรม ๒ กลุ่มคือ วัฒนธรรมเขมรและลาว โดยสะท้อนนัยให้เห็นจากเหตุการณ์ในเรื่องตอนที่เล่าว่า เมื่อขุนแผนแก่ตัวลง ได้ถวาย “ดาบฟ้าฟื้น” ให้แก่พระพันวษา พระพันวษาได้โปรดเกล้าฯ ให้ดาบฟ้าฟื้นวางไว้ที่เบื้องซ้าย ส่วนเบื้องขวามี “พระขรรค์ชัยศรี” วางอยู่ก่อนแล้ว
           สุจิตต์อธิบายว่า การมีดาบ ๒ ชนิดวางอยู่ข้างพระพันวษานี้ สะท้อนถึงการมีอยู่ของวัฒนธรรม ๒ กลุ่มในกรุงศรีอยุธยาคือ วัฒนธรรมเขมร และ ลาว โดยพระขรรค์ชัยศรี เป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมเขมร ส่วนดาบฟ้าฟื้น เป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมลาว เนื่องจาก “ฟ้าฟื้น” เป็นชื่อผีบรรพชนลาว ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกสุโขทัย หลัก 45 ส่วนชี่อขุนแผน มาจากคำว่า “ขุนแถน” หรือ พญาแถน ซึ่งเป็นผีบรรพบุรุษของกลุ่มคนไท-ลาว
ฟังรายละเอียดของเรื่องนี้และประเด็นน่าสนใจอื่นๆ ได้ โดยคลิกที่นี่ https://www.youtube.com/watch?v=JktC-SJo3Gw​

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้