งานเขียนประวัติศาสตร์ศิลปะที่แพร่หลายเล่มแรกๆ ของไทย คือ ตำรา “ภูมิศาสตร์ประเทศสยาม”

งานเขียนประวัติศาสตร์ศิลปะที่แพร่หลายเล่มแรกๆ ของไทย คือ ตำรา “ภูมิศาสตร์ประเทศสยาม”

งานเขียนประวัติศาสตร์ศิลปะที่แพร่หลายเล่มแรกๆ ของไทย คือ ตำรา “ภูมิศาสตร์ประเทศสยาม”
               วิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ เป็นศาสตร์ในยุคสมัยใหม่ที่เริ่มต้นจากตะวันตก และแพร่หลายเข้ามาในไทยเมื่อราว 100 ปี มานี่เอง
                อ.ชาตรี ประกิตนนทการ อธิบายว่า งานเขียนด้านประวัติศาสตร์ศิลปะในระยะแรกๆ เกิดขึ้นหลายเล่ม แต่ที่ถือเป็นงานที่ได้รับการเผยแพร่ในวงกว้างในสถาบันการศึกษาก็คือ แบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการที่มีชื่อว่า “ภูมิศาสตร์ประเทศสยาม” ซึ่งพิมพ์ขึ้นเมื่อพ.ศ.2468 (สมัยรัชกาลที่ 6) หนังสือเล่มนี้ถูกใช้เป็นตำราในโรงเรียน มีเนื้อหาที่เล่าถึงลักษณะภูมิศาสตร์ของมณฑลต่างๆ ของสยาม โดยตอนท้ายจะเล่าถึงโบราณวัตถุสถานของมณฑลนั้นๆ
                อ.ชาตรี อธิบายว่า งานเขียนด้านประวัติศาสตร์ศิลปะในยุคแรกๆ นี้ มีหน้าที่ตอบสนองต่อกระบวนการก่อร่างสร้างรัฐชาติสมัยใหม่ หรือรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งเพิ่งก่อรูปขึ้นและมุ่งหมายรวบรวมดินแดนหัวเมืองต่างๆ ของสยามให้เป็นหนึ่งเดียว ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าเนื้อหาในตำรา “ภูมิศาสตร์ประเทศสยาม” จึงถูกเขียนขึ้นด้วยกลวิธีการบรรยายโบราณวัตถุสถานที่กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ให้สะท้อนถึง “ความเป็นไทย” และแสดงให้เห็นว่าโบราณวัตถุสถานเหล่านั้นสร้างขึ้นโดย “คนไทย” ซึ่งเคยเป็นผู้ครอบครองดินแดนบริเวณนั้นมาก่อน
อ่านรายละเอียดเรื่องนี้ได้ในบทความ “งานเขียนประวัติศาสตร์ศิลปะยุคแรก กับการก่อร่างสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของสยาม” โดย ชาตรี ประกิตนนทการ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวารสารหน้าจั่ว ฉบับที่ 14 พ.ศ.2560
อ่านบทความเรื่องนี้ได้โดยคลิกที่นี่

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้