ภาพ “เครื่องตั้ง” ที่เกาหลี สมัย ร. 2 สะท้อน “ภูมิรู้” ของราชสำนัก

ภาพ “เครื่องตั้ง” ที่เกาหลี สมัย ร. 2 สะท้อน “ภูมิรู้” ของราชสำนัก

ภาพ “เครื่องตั้ง” ที่เกาหลี สมัย ร. 2 สะท้อน “ภูมิรู้” ของราชสำนัก

                ในสมัยกษัตริย์ Jeongjo  แห่งราชวงศ์โชซอนของเกาหลี ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีความนิยมเขียนจิตรกรรมภาพ “เครื่องตั้ง” ตามแบบศิลปะจีน เหมือนกับที่พบในไทยในสมัยรัชกาลที่ 2-3

                Eleanor Soo-ah Hyun ภัณฑารักษ์แห่ง The Metropolitan Museum of Art (Met) สหรัฐอเมริกา อธิบายว่า ภาพเหล่านี้ในภาษาเกาหลีเรียกว่า “Munbangdo” หรือ  “Chaekgeori” เป็นภาพที่นิยมวาดขึ้นในราชสำนักของกษัตริย์ Jeongjo ซึ่งเป็นกษัตริย์นักปฏิรูป พระองค์ยังทรงสร้างหอสมุดหลวงขึ้น และสนับสนุนการศึกษาวิทยาการตะวันตก

                ภาพเครื่องตั้งเหล่านี้ถูกจัดวางใน 3 ลักษณะคือ จัดวางอยู่ในชั้นหนังสือ จัดวางอิสระ และจัดวางแบบกองรวมในแนวตั้ง โดยภาพสิ่งของหลักที่นำมาวาดคือภาพหนังสือ นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับความรู้ เช่น เครื่องเขียน แท่นหมึก, สิ่งของเทคโนโลยีสมัยใหม่จากตะวันตก เช่น กระจก นาฬิกา แว่นตา, ภาชนะดินเผา, เครื่องสำริดโบราณศิลปะจีน, วัตถุสิ่งของมงคลต่างๆ เช่น ผลไม้ ดอกไม้

                จิตรกรรมเครื่องตั้งที่มีภาพหนังสือเป็นหลักนี้ เป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิรู้ของราชสำนักเกาหลีต่อโลก การเปิดรับเทคโนโลยีตะวันตก มีความเข้าใจอดีต และมีความรู้ด้านวรรณกรรม ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติของ “สุภาพบุรุษที่แท้จริง”

อ่านรายละเอียดของเรื่องนี้ได้ใน บทความเรื่อง Korean Munbangdo Paintings โดย Eleanor Soo-ah Hyun

https://www.metmuseum.org/toah/hd/chae/hd_chae.htm

(ที่มาภาพ : https://images.metmuseum.org/)

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้